วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบเครือข่ายไร้สาย


    ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
        ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
        ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
        ปัจจุบันนี้ โลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องปาร์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
        - หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
        - นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน็ตบุคเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ท จากสนามหญ้าในมหาลัยได้
        - นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย
1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
        ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )

        รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2.2 Client/server (Infrastructure mode)

        ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
2.3 Multiple access points and roaming

        โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
2.4 Use of an Extension Point

        กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ
2.5 The Use of Directional Antennas

        ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ชนิดของคอมพิวเตอร์


ชนิดของคอมพิวเตอร์
พัฒนาการทางคอมพิวเตอร์ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากอดีตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้หลอดสุญญากาศขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และอายุการใช้งานต่ำ เปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์ที่ทำจากชินซิลิกอนเล็ก ๆ ใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ และผลิตได้จำนวนมาก ราคาถูก ต่อมาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จำนวนหลายแสนตัวบรรจุบนชิ้นซิลิกอนเล็ก ๆ เป็นวงจรรวมที่เรียกว่า ไมโครชิป (microchip) และใช้ไมโครชิปเป็นชิ้นส่วนหลักที่ประกอบอยู่ในคอมพิวเตอร์ ทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
ไมโครชิปที่มีขนาดเล็กนี้สามารถทำงานได้หลายหน้าที่ เช่น ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เป็นหน่วยควบคุมอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ หมายถึงหน่วยงานหลักในการคิดคำนวณ การบวกลบคูณหาร การเปรียบเทียบ การดำเนินการทางตรรกะ ตลอดจนการสั่งการเคลื่อนข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หน่วยประมวลผลกลางนี้เรียกอีกอย่างว่า ซีพียู (Central Processing Unit : CPU)
การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสมอ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างชัดเจน เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามพอจะจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้
ไมโครคอมพิวเตอร์ (micro computer) 
 สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation) 
 มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer) 
 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) 
 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย
อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ
แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน 
กับแล็ปท็อป
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก
สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation)
ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร
การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้ และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้
สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที (Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์ (Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที
มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)
มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อม ๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางต่อได้ มินิคอมพิวเตอร์เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงกว่าสถานีงานวิศวกรรม นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน เช่น งานบัญชีและการเงิน งานออกแบบทางวิศวกรรม งานควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
มินิคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณืที่สำคัญในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การที่เรียกว่าเครื่อให้บริการ (server) มีหน้าที่ให้บริการกับผู้ใช้บริการ (client) เช่น ให้บริการแฟ้มข้อมูล ให้บริการข้อมูล ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก
เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด
ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม 
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานควบคุมขีปนาวุะ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น การที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็ว เพราะมีการพัฒนาให้มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ เช่นการคำนวณแบบขนานที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massively Parallel Processing : MPP) ซึ่งเป็นการคำนวณที่กระทำกับข้อมูลหลาย ๆ ตัวในเวลาเดียวกัน

ที่มา  http://www.chakkham.ac.th/technology/computer/web2.html

ชนิดของซอฟต์แวร์


ชนิดของซอฟต์แวร์
            
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย  ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง  หรือผู้พัฒนาระบบ  หรือผู้ผลิตจำหน่าย  หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงานพอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท  คือ  ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
             ซอฟต์แวร์ระบบ  คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ  หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์  เช่น  รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ  นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์   จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
            เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์  ทันที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที  โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ  ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก  หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ  คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
            ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
           ซอฟต์แวร์ประยุกต์  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้  ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง  ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก  การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย  เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ  ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ  ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย  เช่น  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ


 ซอฟต์แวร์ระบบ
            
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล  ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น  ดังนั้นจึงต้องมรซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดระบบเพื่อใช้ในการจัดระบบ  หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
            1.ใช้ในการจัดหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก  เช่น  รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์  ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า ละส่งออกอื่น ๆ เช่น  เมาส์  อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
            2.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ  เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก  หรือในทำนองกลับกัน  คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
            3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์  สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น  เช่น  การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก  การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล


            ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป  แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ  และตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั้งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น


 ระบบปฏิบัติการ
            ระบบปฏิบัติการ  หรือที่เรียนย่อ ๆ ว่า โอเอส  (Operating System  :  OS)  เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์   เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้   ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส (Disk Operating System : DOS)  วินโดวส์  (Windows)  โอเอสทู  (OS/2)  ยูนิกซ์  (UNIX)
1.ดอส  เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบที่พัฒนามานานแล้ว  การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2.วินโดวส์   เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส  เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น  สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้  โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ  การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก  ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพ  ทำใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายวินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3.โอเอสทู   เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส  แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม  เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกันและการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4.ยูนิกซ์  เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั่งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน  และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน  ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก  โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ  เช่น  ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์วินโดว์เอ็นที
    
  ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง  ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา  ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย  เข้าใจได้ง่าย  ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
            ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบันเช่น  ภาษาปาสคาล  ภาษาเบสิก  ภาษซี  และภาษาโลโก
            1.ภาษาปาสคาล  เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้างเขียนสั่งงานคมอพิวเตอร์เป็นกระบวนความ  ผุ้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
            2.ภาษาเบสิก  เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก  สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
            3.ภาษาซี  เป็นภาษาที่เหมาะสมใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ
            4.ภาษาโลโก  เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
            นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว  ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา  เช่น  ภาษาฟอร์แทรน  ภาษาโคบอล  ภาษาอาร์พีจี
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก  ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น  จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
            การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์  ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น  หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
ซอฟต์แวร์สำเร็จ
          ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป  ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( Package ) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก  ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง  ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก  ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป  และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ( word processing  software ) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ( spread sheet software ) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ( data base management software ) ซอฟต์แวร์นำเสนอ ( presentation software ) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ( data communication software )
       1). ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสารสามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้  การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ  เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม  ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด  จุฬาจารึก  โลตัสเอมิโปร
       2). ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน  เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน  ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา  ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความ
หรือสูตร  สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนดผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวางซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
      3). ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล  การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์  จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลทีนิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
      4). ซอฟต์แวร์นำเสนอ  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดควาสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์  โลตัสฟรีแลนซ์  ฮาร์วาร์ดกราฟิก
      5). ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล  ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม  ครอสทอล์คเทลิก
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพา
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า  การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน  ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย  ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมบริหารการเงิน  และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงยังมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย


ทีมา  http://202.29.138.73/studentweb/sb2/lesson5.htm

ภาษาคอมพิวเตอร์


ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language)
ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำหนือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส 0 และ 1 เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ) หรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)
ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code) เช่น
สัญลักษณ์นิวมอนิกโคด
ความหมาย


MP
STO
การบวก (Add)
การเปรียบเทียบ (Compare)
การคูณ (Muliply)
การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ (Store)
ตัวอย่างนิวมอนิกโคด
 ถึงแม้ว่านิวมอนิกโคดที่ใช้จะไม่ใช้คำในภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์เลข 0 และ 1 ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลียังสามารถกำหนดชื่อของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นคำในภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นเลขที่ตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น TOTAL , INCOME เป็นต้น แต่ข้อจำกัดของภาษาภาษาแอสเซมบลี คือ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง
ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมเบลอ (Assembler) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็น
ภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ
ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จามเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูออแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
เป็นภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง 5 ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ 4 นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาใยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
มีนักเขียโปรแกรมกล่าวว่า ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้เขียนโปรแกรมจะทำให้ได้งานที่เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าตัว ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการพิมพ์รายงานแสดงจำนวนรายการสินต้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือน โดยให้แสดงยอดรวมของลูกค้าแต่ละคน และให้ขึ้นหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์รายงานลูกค้าแต่ละคน จะเขียนโดยใช้ภาษาในยุคที่ 4 ได้ดังนี้
TABLE FILE SALES
SUM UNIT BY MONTH BY CUSTOMER BY PROJECT
ON CUSTOMER SUBTOTAL PAGE BREAK
END
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเป็นงานที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าใข้ภาษา COBOL เขียนอาจจะต้องใช้ถึง 500 คำสั่ง แต่ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเลย
ข้อดีของภาษาในยุคที่ 4
การเขียนโปรแกรมจะเน้นที่ผลของงานว่าต้องการอะไร ไม่สนใจว่าจะทำได้อย่างไร
ช่วยพัฒนาเนื้องาน เพราะเขียนและแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
ไม่ต้องเสียเวลาอบรมผู้เขียนโปรแกรมมากนัก ไม่ว่าผู้ที่จะมาเขียนโปรแกรมนั้นมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่
ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ของเครื่องและโครงสร้างโปรแกรม
ภาษาในยุคที่ 4 นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (query language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล และการแสดงรายงานจากฐานข้อมูล จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจมีการเรียกดูข้อมูลพิเศษที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ ถ้าผู้ใช้เรียนรู้ภาษาเรียกค้นข้อมูลก็จะขอดูรายงานต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า SQL (Structured Query Language) และนอกจากนี้ยังมีภาษา Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมการใช้งานมากเช่นกัน
ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)
เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ
การเลือกใช้คอมพิวเตอร์
เนื่องจากในปัจจุบันทุก ๆ ปีจะมีภาษาคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมากมาย และภาษาต่าง ๆ จะมีจุดดีและจุดด้อยแตกต่างกันไป ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องทำการคัดเลือกภาษาที่จะนำมาใช้งานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเมื่อศึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ภาษาอื่นในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องสูญเสียไป รวมทั้งปัญหาของบุคลากรที่ต้องศึกษาหาความชำนาญใหม่อีกด้วย
ในการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้ สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
ในหน่วยงานหนึ่ง ๆ ควรจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวกัน เพราะการดูแลรักษาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น ตลอดจนการจัดหาบุคลากรจะกระทำให้ง่ายกว่า
ในการเลือกภาษาควรเลือกโดยดูจากคุณสมบัติหรือข้อดีของภาษานั้น ๆ เป็่นหลัก
ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นต้องนำไปทำงานบนเครื่องต่าง ๆ กัน ควรเลือกภาษาที่สามารถใช้งานได้บนทุกเครื่อง เพราะจะทำให้เขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ผู้ใช้ควรจำกัดภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ ไม่ควรติดตั้งตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษาบนเครื่องทุกเครื่อง
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้ จะถูกจำกัดโดยนักเขียนโปรแกรมที่มีอยู่ เพราะควรใช้ภาษาที่มีผู้รู้อยู่บ้าง
บางครั้งในงานที่ไม่ยุ่งยากนัก อาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เช่น ภาษา BASIC เพราะเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากอยู่แล้ว
ภาษาคอมพิวเตอร์การใช้งาน
BASIC (Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code) สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
COBOL (Common Business Oriented Language) นิยมใช้ในงานธุรกิจบนเครื่องขนาดใหญ่
FORTRAN (FORmula TRANslator) ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
Pascal (ชื่อของ Blaise Pascal) ใช้ในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
C สำหรับนักเขียนโปรแกรม และใช้ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
C++ สำหรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์
ALGOL (ALGOrithmic Language) เริ่มต้นได้รับการออกแบบให้เป็นภาษาสำหรับงานทางวิทยาศาสตร์ และต่อมามีการพัฒนาต่อเป็นภาษา PL/I และ Pascal
APL (A Programming Language) ออกแบบโดยบริษัท IBM ในปีค.ศ. 1968 เป็นภาษาที่โต้ตอบกับผู้ใช้ทันที เหมาะสำหรับจัดการกับกลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันในรูปแบบตาราง
LISP (LIST Processing) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์พิเศษหรือตัวอักษรก็ได้ นิยมใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Inelligence)
LOGO นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
PL/I (Programming Language One) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ
PROLOG (PROgramming LOGIC) นิยมใช้มากในงานด้านปัญญาประดิษฐ์ จัดเป็นภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่ง
RPG (Report Program Generator) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทางธุรกิจ จะมีคุณสมบัติในการสร้างโปรแกรมสำหรับพิมพ์รายงานที่ยืดหยุ่นมาก
ภาษาคอมพิวเตอร์กับการใช้งาน
ปัจจุบันนี้มีภาษาคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายภาษา แต่ละภาษาก็ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานด้านต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น บางภาษาก็ออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจ บางภาษาก็ใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งจะกล่าวโดยสรุปถึงการใช้งานของแต่ละภาษาดังนี้
ภาษา BASIC
เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ
ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ทำงานได้ช้า ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเชี่ยวชาญแล้วไม่นิยมใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีภาษา BASIC รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ conplier เป็นตัวแปลภาษา ทำให้ทำงานได้คล่อ่งตัวขึ้น เช่น Microsoft's Quick BASIC และ Visual Basic เป็นต้น
ภาษา COBOL
เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 นิยมใช้สำหรับการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOLซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก
ภาษา Fortran
เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ย่อมาจากคำว่า FORmula TRANslator ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดของภาษาระดับสูงภาษาแรก นิยมใช้สำหรับงานที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
ภาษา Pascal
เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็น interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัวข้อเสียของภาษาปาสคาลรุ่นแรก ๆ ออก
ภาษา C และ C++
ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming Language)
นักเขียนโปรแกรมบางคนคิดว่าการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่นั้น บางครั้งก็เป็นงานที่หนักและเสียเวลามาก จึงได้พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้การเขียนโปรแกรมนั้นง่ายขึ้น และสามารถเขียนได้อย่าวรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) หรือ OOP เพื่อช่วยลดความยุ่งยากของการเขียนโปรแกรม
Object-Oriented Programming ต่างจากการเขียนโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยการเขียนโปรแกรมตามปกตินั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะพิจารณาถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาของโปรแกรมเหล่านั้น แต่เทคนิคของ OOPจะมองเป็น วัตถุ (object) เช่น กล่องโต้ตอบ (dialog box) หรือไอคอนบนจอภาพ เป็นต้น โดยออบเจ็คใดออบเจ็คหนึ่งจะทำงานเฉพาะที่แน่นอน ถ้าผู้ใช้ต้องการทำงานชนิดนั้นก็สามารถคัดลอกไปใช้ในโปรแกรมที่ต้องการได้ทันที
โปรแกรมเดลไฟ
หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยภาษาเริ่มแรกคือ Simula-67 ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1967 และต่อมาก็มีภาษา smalltalk ซึ่งเป็นภาษาเชิงวัตถุเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ หลักการของ OOP ยังได้รับการนไปเสริมเข้ากับภาษาโปรแกรมในยุคที่ 3 คือ C จนเกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ รวมทั้งยังมีการเสริมเข้ากับ การโปรแกรมแบบภาพ (visual programming) ทำให้เกิด Visual Basic ซึ่งมีรากฐานมาจาก BASIC และ Delphi ซึ่งมีรากฐานมาจาก Pascal นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะมีภาษาที่ใช้หลักการโปรแกรมเชิงวัตถุตัวใหม่ล่าสุดซึ่งกำลังมาแรงและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมสูงคู่กันอินเตอร์เน็ต นั่นคือภาษา JAVA
ภาษาที่ออกแบบมาสำหรับ OOP
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) เช่น Microsoft Windows และ World Wide Web จะสามารถทำได้ง่าย รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ด้วยเครื่องมือในการพัฒนาที่ใช้หลักการของ OOP ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องมือประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ 2 ภาษา คือ Visual Basic และ JAVA
Visual Basic
ภาษา Visual Basic พัฒนาโดย Prof. Kemeny และ Kurtz ที่เมือง Dartmouth ในปีค.ศ. 1960 โดยมีจุดประสงค์สำหรับใช้สอนในห้องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นในยุคแรก ๆ จะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่น เช่น FORTRAN และ COBOL เพราะขนาดของตัวแปรภาษาซึ่งต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก แต่เครื่องเหล่านั้นสามารถใช้ภาษา BASIC ได้ เพราะภาษา BASIC ใช้ตัวแปลภาษาที่มีขนาดเล็ก และตัวแปลภาษานั้นไม่ต้องเก็บอยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดก็สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ภาษา BASIC ได้รับความนิยมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาสูงขึ้นในเรื่องของความเร็วและหน่วยความจำเท่าใดก็ตาม แต่ภาษา Visual Basic จะแตกต่างจากภาษา BASIC โดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของหน่วยความจำที่ต้องการ และวิธีการพัฒนาโปรแกรม
โปรแกรมวิชวลเบสิค
 ภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Microsoft มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อับผู้ใช้เป็นแบบกราฟฟิก โดยจะมีเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมอย่างรวดเร็ว หรือที่นิยมเรียกว่า RAD (Repid Application Development) ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานภาษา Visual Basic เป็นจำนวนมาก โดยภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนระบบวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากไมโครซอฟต์ เช่น Visual Basic 3 ทำงานบนระบบวินโดว์ 3.11 ส่วน Visual Basic 4 และ 5 ทำงานบนระบบวินโดว์ 95 เป็นต้น
JAVA
ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุดจากบริษัท Corel ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ โปรแกรมเวิร์โปรเซสซิ่ง สเปรดซีต พรีเซนเตชั่น ที่เขียนขึ้นด้วยจาวาทั้งหมด
จาวายังสามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับความนิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้แล้ว จาวายังเป็นภาษาที่ถูกใช้งานในคอมพิวเตอร์แบบเอ็นซี (NC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ล่าสุด ที่เน้นการทำงานเป็นเครือข่ายว่า แอพเพลต (applet) ที่ต้องการใช้งานขณะนั้นมาจากเครื่องแม่ ทำให้การติดต่อสื่อสารสารผ่านเครือข่ายใช้ช่องทางการสื่อสารน้อยกว่าการดึงมาทั้งโปรแกรมเป็นอย่างมาก
โปรแกรมพัฒนาภาษาจาวา


ที่มา   http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20soft3.htm

คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์(Software) 
หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ(System Softwaer) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Softwaer)
หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
1.1  OS (Operating System) 
คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกส่วนของคอมพิวเตอร์และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นการเปิด หรือปิดไฟล์ การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือสู่จอภาพ เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่าวความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบบอยู่หลายตัวด้วยกันซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน ดังนี้ 
DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส
 UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์
 LAN เป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเช่นเดียวกัน แต่จะใช้เชื่อมโยงกันในระยะใกล้ ๆ เช่น ในอาคารเดียวกันหรือระหว่างอาคารที่อยู่ใกล้กัน โดยใช้สาย Lan เป็นตัวเชื่อมโยง
WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows XP แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 , MS ME และ MS Windows XP ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอเอสใหม่ ๆ
Windows NT เป็นระบบ  OS ที่ผลิตจากบริษัทไมโครซอฟต์เช่นเดียวกัน เป็นระบบ 32 บิต มีรูปลักษณ์เป็นกราฟิกที่ต้องใช้เมาส์คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไป แต่นิยมใช้ในระบบเวิร์กสเตชันมากกว่าในเครื่องพีซีทั่ว ไป
OS/2 เป็นระบบ OS ที่ผลิตออกมาจากบริษัท IBM เป็นระบบ 32 บิต ที่มีรูปลักษณ์เป็นกราฟฟิกที่ต้องใช้เมาส์ คล้ายกับวินโดวส์ทั่วไปเช่นกัน
1.2 Translation Program 
คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาที่ไม่ใช่ภาษาเครื่อง หรือภาษาเครื่องที่ไม่เข้าใจให้เป็นภาษาที่เครื่องสามารถรู้เรื่องเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ เช่น  ภาษา BASIC ,COBOL,C, PASCAL, FORTRAN, ASSEMBLY เป็นต้น สำหรับตัวแปลนั้นจะมี 3 แบบคือ
 Assembler เป็นโปแกรมที่ใช้แปลภาษาแอสแซมบลี ซึ่งมีลักษณะการแปลทีละคำสั่ง เมื่อทำตามคำสั่งนั้นเสร็จแล้ว ก็จะแปลคำสั่งถัดไปเรื่อย ๆ จนจบ
 Interpreter เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาเบสิก โดยจะแปลทีละคำสั่งแล้วทำตามคำสั่งนั้น แล้วแปลต่อไปเรื่อย ๆ จนจบโปรแกรม
 Compiler เป็นโปรแกรมที่ใช้แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ซึ่งจะแปลทั้งโปรแกรมให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงจะปฏิบัติตามคำสั่งทีละคำสั่ง
1.3  Utility Program 
คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้สะดวก รวดเร็วและง่ายขึ้น เช่น โปรแกรมที่ใช้ในการเรียงลำดับข้อมูล โปรแกรมโอนย้ายข้อมูลจากชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูล 2  ชุดเข้าด้วยกัน โปรแกรมคัดลอกข้อมูลเป็นต้น
14. Diagnostic Program 
คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปแกรม QAPLUS โปรแกรม NORTON เป็นต้น และเมื่อพบข้อผิดพลาดก็จะแจ้งขึ้นบนจอภาพให้ทราบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Softwaer)
หมายถึง โปรแกรมที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นผู้เขียนมาใช้งานเอง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
2.1 User Program  
คือ โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนมาใช้เอง โดยใช้ภาษาระดับต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา BSDIC, COBOL, PSDCSL, C, ASSEMBLY FORTRAN ฯลฯ ซึ่งการที่จะเลือกใช้ภาษาใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานเหล่านั้นด้วย เช่น โปรแกรมระบบบัญชี, โปแกรมควบคุมสต็อกสินค้า, โปแกรมแฟ้มทะเบียนประวัติ โปรแกรมคำนวณภาษี,โปรแกรมคิดเงินเดือน เป็นต้น
2.2 Package Program 
คือ โปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งเป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างหรือเขียนขึ้นมาโดยบริษัทต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ ได้ทันทีตัวอย่างเช่น
 Word Processor โปรแกรมที่ช่วยในการทำเอกสาร พิมพ์งานต่าง ๆ เช่น เวิร์ดจุฬา, เวิร์ดราชวิถี, Microsoft Word, WordPerfect, AmiPro เป็นต้น
Spreadsheet โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณข้อมูล มีลักษณะเป็นตาราง เช่น Lotus 1-2-3, Microsoft Excel เป็นต้น
 Database โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านฐานข้อมูลจะใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่มีขนาดใหญ่ และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น dBASE lll Plis, Foxbase,   Microsoft Access, foxpro, Visual Foxpro เป็นต้น
โปรแกรมที่ใช้ในการทำงานทางด้านการสร้างรูปภาพและกราฟฟิกต่าง ๆ รวมทั้งงานทางด้านสิ่งพิมพ์ การทำโบรชัวร์ แผ่นพับ นามบัตร เช่น CorelDraw, Photoshop, Harvard Graphic, Freelance Graphic, PowerPoint, PageMaker เป็นต้น
จากข้างต้นเป็นตัวอย่างของ Package Program ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน ที่จริงแล้ว Package Program สามารถแบ่งออกได้เป็น 9 ประเภทด้วยกัน สำหรับรายละเอียดของโปรแกรมแต่ละประเภทนั้น มีรายละเอียดดังนี้
1. โปรแกรมทางด้าน Word Processor
โปรแกรมทางด้าน Word Processor นั้น เป็นโปรแกรมที่ทำงานเกี่ยวกับทางด้านการประมวลผลคำ สามารถจัดทำเอกสาร รายงาน จดหมาย หนังสือต่าง ๆ ได้ ทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ สวยงาม เนื่องจากสามารถจัดรูปแบบงานตามต้องการได้รวมทั้งยังแก้ไขงานที่ทำได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการแก้ไขงาน และสามารถค้นหาข้อความต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก
2. โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet
โปรแกรมทางด้าน Spreadsheet เป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็นกระดาษทำการขนาดใหญ่ หรือ เรียกว่า Worksheet ประกอบด้วยส่วนที่เป็น Row หรือแถวตามแนวนอนและส่วนที่เป็น Column หรือแถวตามแนวตั่ง ซึ่งใช้ในด้านการคำนวณเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปของกราฟโดยสร้างเป็นกราฟ 2 มิติและ 3 มิติได้อีกด้วย โปรแกรม Spreadsheet เหมาะกับการทำงานในด้านการบัญชี การเงิน การวิเคราะห์ข้อมูล หรืองานการคิดคะแนนและเกรดของนักศึกษา เป็นต้น
สำหรับโปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ โปรแกรม Lotus ซึ่งมีทั้งที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Excel โปรแกรมเหล่านี้สามารถจัดรูปแบบตัวอักษรและกำหนดขนาดตัวอักษร รวมทั้งสามารถตีกรอบ สร้างตารางระบายสีลงในเซลล์ต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้นยังสามารถนำรูปกราที่สร้างไว้มารวมกับข้อมูลที่อยู่ใน Worksheet เดียวกันได้ ทำให้ได้งานที่สมบูรณ์ขึ้น
3. โปรแกรมทางด้าน Database
โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ทำงานทางด้านการจัดการฐานข้อมูล ช่วยจัดเก็บข้อมูล แก้ไข ค้นหา เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดเรียงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สะดวกรวดเร็วสามารถทำงานได้เป็นระบบ โปรแกรม Database เหมาะกับการทำงานที่มีข้อมูลมาก ๆ เช่น การเก็บสต็อกสินค้าคงคลัง การเก็บประวัติพนักงาน การเก็บรายชื่อนักศึกษาในโรงเรียน การเก็บรายชื่อหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น
โปแกรมที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ โปรแกรม dBase lll Plus ซึ่งทำงานบน Dos โปรแกรม Foxpro ซึ่งมีหน้าที่ทำงานบน Dos และบน Windows, โปรแกรม Microsoft Access และในปัจจุบันมีโปรแกรม Visual Foxpro ซึ่งเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ทำงานบน Windows เช่นกัน
4. โปรแกรมทางด้าน Graphic
โปรแกรม Graphic ส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับทางด้านงานออกแบบ เขียนแบบวาดภาพ จัดทำสิ่งพิมพ์และจะเป็นทางด้านการนำเสนองาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานโฆษณา ทำ Slide Show หรือนำไปใช้กับระบบ Multimedia ได้ ปัจจุบันโปรแกรมกลุ่มนี้เป็นที่นิยมมาก
สำหรับโปรแกรมที่ทำงานทางด้าน Graphic นั้น มีอยู่หลายโปรแกรมและแต่ละโปรแกรมนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานคล้ายกัน แต่มีบางคำสั่งที่แตกต่างกันไปดังนี้
 CorelDraw และ Photoshop จะทำเกี่ยวกับงานออกแบบ วาดภาพ จัดทำ สิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพให้สวยงาม เหมาะกับงานทางด้านโฆษณา
 Harvard Graphic, Freelance Graphic และ PowerPoint เหมาะกับงานที่ต้องการนำเสนอ หรือแสดงออกโดยการสร้าง Slide Show สามารถนำภาพและเสียงมาประกอบกับงานได้ ทำให้ได้ Presentation ที่สวยงามออกมา
PageMakerเหมาะกับงานประเภทสิ่งพิมพ์ ใช้สร้างโบรชัวร์ แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร และการทำหนังสือ โปรแกรมที่นิยมใช้กับโรงพิมพ์มาก
5. โปรแกรมเกม (Game)
เป็นโปรแกรมที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และปัจจุบันนี้มีโปรแกรมเกมต่าง ๆ มากมาย ทั้งแบบธรรมดาและแบบ 3 มิติ ซึ่งที่จริงแล้วโปรแกรมเกมส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นมา เพื่อช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดในการทำงานแต่ละส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าเด็กจะเล่น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินมากกว่า ผู้ใหญ่ควรควบคุมเกมที่เด็ก ๆเล่นด้วย เพราะบางเกมเป็นลักษณะของการต่อสู้ เพื่อให้เกิดชัยชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กสร้างนิสัยผิด ๆ กลายเป็นเด็กที่ชอบเอาชนะคนอื่นชอบการต่อสู้ และอาจเป็นคนดุร้าย เห็นแก่ตัวได้ 
6. โปรแกรมทางด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง
เป็นโปรแกรมที่ให้ผู้เล่นได้ทดลองสร้างสถานการณ์จำลองของงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้หรืออาจจะเรียกว่า เกมส์ทางธุรกิจ โดยให้ผู้เล่นได้รู้จักวางแผนในการทำงาน คิดถึงผลกำไรขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ รู้จักจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่ให้ได้ผลกำไรมากที่สุด  
7. โปรแกรมทางด้านการติดต่อสื่อสาร
เป็นโปรแกรมที่มักนิยมใช้ตามสำนักงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนในการนัดหมายประชุม การทำจดหมายเวียนไปตามฝ่าย ต่าง ๆ โดยการเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์แทนที่จะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ เพื่อแจ้งให้พนักงานทราบ ข้อดีของโปรแกรมชนิดนี้คือ ทำให้ประหยัดกระดาษลงไปได้มาก 
8. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
โปรแกรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CAI (Computer Assisted Instruction) เป็นโปรแกรมที่นำมาสอนให้กับนักเรียนในวิชาต่าง ๆ โดยที่นักเรียนจะเรียนกับโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์และครูเป็นผู้ชี้แนะ ทดสอบ และวัดความเข้าใจ รวมทั้งสรุปเนื้อหาที่นักเรียนได้เรียนจากโปรแกรม CAI นี้ ปัจจุบันโปรแกรมประเภทนี้เริ่มนำเข้ามาใช้ในโรงเรียนแพร่หลายมากขึ้น เพราะทุกโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ใช้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนของครูวิธีหนึ่ง ที่ทำให้นักเรียนไม่รู้สึกเบื่อ และสนใจการเรียนมากขึ้นด้วย
สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะใช้สร้างโปรแกรม CAI นั้นได้แก่ โปรแกรม Authorware และโปรแกรม ToolBook เป็นต้น
9. โปรแกรมทางด้านการออกแบบ
โปรแกรมนี้ได้เข้ามาช่วยออกแบบงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และงานออกแบบสินค้าต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งแบบที่เป็นภาพ 2  มิติ และภาพ 3 มิติ สำหรับโปรแกรมทางด้านออกแบบที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ โปรแกรม AutoCAD ใช้กับงานออกแบบ เขียนแบบ ทั้งแบบ 2มิติ เขียนวงจรไฟฟ้า เหมาะกับนักสถาปนิก นักออกแบบตกแต่ง วิศวกรไฟฟ้า นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมอื่นที่ใช้ร่วมกับ AutoCAD ได้อีกด้วย คือ โปรแกรม 3D Studio


ที่มา   http://www.bcoms.net/temp/lesson3.asp