วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาษาคอมพิวเตอร์


ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language)
ชนิดของภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์เริ่มมาจากในมหาวิทยาลัย หรือในหน่วยงานของรัฐบาลที่ต้องการทำงานบางอย่าง นอกจากนี้ บางภาษาเกิดขึ้นเพราะความต้องการด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้มีภาษาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
จากการที่มีภาษาจำนวนมากมายนั้น ทำให้ต้องกำหนดระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการแบ่งประเภทของภาษาเหล่านั้น การกำหนดว่าเป็นภาษาระดับต่ำหนือภาษาระดับสูง จะขึ้นอยู่กับภาษานั้นใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ใกล้เคียงกับรหัส 0 และ 1 เรียกว่า ภาษาระดับต่ำ) หรือว่าใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ (ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ เรียกว่า ภาษาระดับสูง)
ภาษาเครื่อง (Machine Language)
ก่อนปีค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสองแทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมดจะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือปต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่งเฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อนต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่า ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก นักคอมพิวเตอร์จึงได้พัฒนาภาษาแอสเซมบลีขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาในปีค.ศ. 1952 ได้มีการพัฒนาโปรแกรมภาษาระดับต่ำตัวใหม่ ชื่อภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) โดยที่ภาษาแอสเซมบลีใช้รหัสเป็นคำแทนคำสั่งภาษาเครื่อง ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะยังไม่สะดวกเท่ากับการเขียนโปรแกรมภาษาอื่น ๆ ในสมัยนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นการพัฒนาไปสู่ยุคของการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ คือใช้สัญลักษณ์แทนเลข 0 และ 1 ของภาษาเครื่อง ซึ่งสัญลักษณ์ที่ใช้จะเป็นคำสั่งสั้น ๆ ที่จะได้ง่าย เรียกว่า นิมอนิกโคด (mnemonic code) เช่น
สัญลักษณ์นิวมอนิกโคด
ความหมาย


MP
STO
การบวก (Add)
การเปรียบเทียบ (Compare)
การคูณ (Muliply)
การเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ (Store)
ตัวอย่างนิวมอนิกโคด
 ถึงแม้ว่านิวมอนิกโคดที่ใช้จะไม่ใช้คำในภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายกว่าสัญลักษณ์เลข 0 และ 1 ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลียังสามารถกำหนดชื่อของที่เก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นคำในภาษาอังกฤษ แทนที่จะเป็นเลขที่ตำแหน่งในหน่วยความจำ เช่น TOTAL , INCOME เป็นต้น แต่ข้อจำกัดของภาษาภาษาแอสเซมบลี คือ จะแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่องเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง
ผู้เขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีต้องใช้ แอสเซมเบลอ (Assembler) แปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็น
ภาษาเครื่อง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ
ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ในปีค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้น ภาษาระดับสูงจะใช้คำในภาษาอังกฤษแทนคำสั่งต่าง ๆ รวมทั้งสามารถใช้นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ได้ด้วย ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลามุ่งไปในการศึกษาถึงทางแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ต้องเป็นกังวลว่าคอมพิวเตอร์จะทำงานอย่างไรอีกต่อไป
ภาษาระดับสูงนี้ถือว่าเป็น ภาษายุคที่สาม (third-generation language) ซึ่งทำให้เกิดการประมวลผลข้อมูลเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างปี ค.ศ. 1960 ถึง ค.ศ. 1970 และมีผู้หันมาใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้น โดยสังเกตได้จามเครื่องเมนเฟรมจากจำนวนร้อยเครื่องเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นเครื่อง อย่างไรก็ตาม ภาษาระดับสูงก็ยังคงต้องการตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อสั่งให้เครื่องทำงานต่อไป ตัวแปลภาษาที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไปจะเป็นแบบคอมไพเลอร์ ซึ่งแต่ละภาษาก็มีคอมไพเลอร์ไม่เหมือนกัน รวมทั้งคอมไพเลอร์แต่ละตัวก็จะต่างกันไปบนเครื่องแต่ละชนิดด้วย เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมภาษา COBOL บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ก็จะต้องเลือกใช้คอมไพเลอร์ภาษา COBOL ที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งภาษาใดบนเครื่องที่ต่างกันอาจจะแตกต่างกันได้ เพราะคอมไพเลอร์ที่ใช้ต่างกันนั่นเอง
ภาษาคอมพิวเตอร์บางภาษาได้ถูออแบบมาให้ใช้แก้ปัญหางานเฉพาะบางอย่าง เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ การสร้างภาพกราฟฟิก เป็นต้น แต่ภาษาคอมพิวเตอร์โดยมากจะมีความยืดหยุ่นให้ใช้งานทั่ว ๆ ไปได้ เช่น ภาษา BASIC ภาษา COBOL หรือภาษา FORTRAN เป็นต้น และนอกจากนี้ยังมีภาษา C ที่ได้รับความนิยมมากเช่นกัน
ภาษาระดับสูงมาก (Very high-level Language)
เป็นภาษายุคที่ 4 (fourth-generation language) หรือ 4GLs จะเป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมได้สั้นกว่าภาษาในยุคก่อน ๆ การทำงานบางอย่างสามารถใช้เพียง 5 ถึง 10 บรรทัดเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเขียนด้วยภาษา อาจต้องใช้ถึง 100 บรรทัด โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาในยุคที่ 4 นี้มีคุณสมบัติที่แยกจากภาษาใยุคก่อน ๆ อย่างชัดเจน กล่าวคือภาษาในยุคก่อนนั้นใช้หลักการของ การเขียนโปรแกรมแบบโพรซีเยอร์ (procedurl language) ในขณะที่ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นแบบ ไม่ใช้โพรซีเยอร์ (nonprocedurl language) ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่กำหนดว่าต้องการให้โปรแกรมทำอะไรบ้างก็สามารถเขียนโปรแกรมได้ทันที โดยไม่ต้องทราบว่าทำได้อย่างไร ทำให้การเขียนโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว
มีนักเขียโปรแกรมกล่าวว่า ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้เขียนโปรแกรมจะทำให้ได้งานที่เพิ่มขึ้นถึงสิบเท่าตัว ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการพิมพ์รายงานแสดงจำนวนรายการสินต้าที่ขายให้ลูกค้าแต่ละคนในหนึ่งเดือน โดยให้แสดงยอดรวมของลูกค้าแต่ละคน และให้ขึ้นหน้าใหม่สำหรับการพิมพ์รายงานลูกค้าแต่ละคน จะเขียนโดยใช้ภาษาในยุคที่ 4 ได้ดังนี้
TABLE FILE SALES
SUM UNIT BY MONTH BY CUSTOMER BY PROJECT
ON CUSTOMER SUBTOTAL PAGE BREAK
END
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเป็นงานที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าใข้ภาษา COBOL เขียนอาจจะต้องใช้ถึง 500 คำสั่ง แต่ถ้าใช้ภาษาในยุคที่ 4 นี้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเลย
ข้อดีของภาษาในยุคที่ 4
การเขียนโปรแกรมจะเน้นที่ผลของงานว่าต้องการอะไร ไม่สนใจว่าจะทำได้อย่างไร
ช่วยพัฒนาเนื้องาน เพราะเขียนและแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย
ไม่ต้องเสียเวลาอบรมผู้เขียนโปรแกรมมากนัก ไม่ว่าผู้ที่จะมาเขียนโปรแกรมนั้นมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมหรือไม่
ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องทราบถึงฮาร์ดแวร์ของเครื่องและโครงสร้างโปรแกรม
ภาษาในยุคที่ 4 นี้ยังมีภาษาที่ใช้สำหรับเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลได้ เรียกว่า ภาษาเรียกค้นข้อมูล (query language) โดยปกติแล้วการเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล และการแสดงรายงานจากฐานข้อมูล จะต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจมีการเรียกดูข้อมูลพิเศษที่ไม่ได้มีการวางแผนไว้ ถ้าผู้ใช้เรียนรู้ภาษาเรียกค้นข้อมูลก็จะขอดูรายงานต่าง ๆ นอกเหนือจากที่ได้มีการวางแผนไว้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก ภาษาเรียกค้นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า SQL (Structured Query Language) และนอกจากนี้ยังมีภาษา Query Bu Example หรือ QBE ที่ได้รับความนิยมการใช้งานมากเช่นกัน
ภาษาธรรมชาติ (Nature Language)
เป็น ภาษายุคที่ 5 (fifth generation language) หรือ 5GLs ธรรมชาติหมายถึงธรรมชาติของมนุษย์ คือไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ ซึ่งจะทำให้มีรูปแบบของคำสั่งหรือประโยคที่แตกต่างกันออกไปได้มากมาย เพราะผู้ใช้แต่ละคนอาจจะใช้ประโยคต่างกัน ใช้คำศัพท์ต่างกัน หรือแม้กระทั่งบางคนอาจจะใช้ศัพท์แสลงก็ได้ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง ภาษาธรรมชาติจะใช้ ระบบฐานความรู้ (knowledge base system) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ
การเลือกใช้คอมพิวเตอร์
เนื่องจากในปัจจุบันทุก ๆ ปีจะมีภาษาคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมากมาย และภาษาต่าง ๆ จะมีจุดดีและจุดด้อยแตกต่างกันไป ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องทำการคัดเลือกภาษาที่จะนำมาใช้งานอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเมื่อศึกษาและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ภาษาอื่นในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องสูญเสียไป รวมทั้งปัญหาของบุคลากรที่ต้องศึกษาหาความชำนาญใหม่อีกด้วย
ในการเลือกภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้ สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
ในหน่วยงานหนึ่ง ๆ ควรจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาเดียวกัน เพราะการดูแลรักษาซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น ตลอดจนการจัดหาบุคลากรจะกระทำให้ง่ายกว่า
ในการเลือกภาษาควรเลือกโดยดูจากคุณสมบัติหรือข้อดีของภาษานั้น ๆ เป็่นหลัก
ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นต้องนำไปทำงานบนเครื่องต่าง ๆ กัน ควรเลือกภาษาที่สามารถใช้งานได้บนทุกเครื่อง เพราะจะทำให้เขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ผู้ใช้ควรจำกัดภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ ไม่ควรติดตั้งตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ทุกภาษาบนเครื่องทุกเครื่อง
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้ จะถูกจำกัดโดยนักเขียนโปรแกรมที่มีอยู่ เพราะควรใช้ภาษาที่มีผู้รู้อยู่บ้าง
บางครั้งในงานที่ไม่ยุ่งยากนัก อาจใช้ภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เช่น ภาษา BASIC เพราะเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากอยู่แล้ว
ภาษาคอมพิวเตอร์การใช้งาน
BASIC (Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code) สำหรับผู้เริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
COBOL (Common Business Oriented Language) นิยมใช้ในงานธุรกิจบนเครื่องขนาดใหญ่
FORTRAN (FORmula TRANslator) ใช้สำหรับงานด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
Pascal (ชื่อของ Blaise Pascal) ใช้ในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
C สำหรับนักเขียนโปรแกรม และใช้ในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
C++ สำหรับผู้ผลิตซอฟต์แวร์
ALGOL (ALGOrithmic Language) เริ่มต้นได้รับการออกแบบให้เป็นภาษาสำหรับงานทางวิทยาศาสตร์ และต่อมามีการพัฒนาต่อเป็นภาษา PL/I และ Pascal
APL (A Programming Language) ออกแบบโดยบริษัท IBM ในปีค.ศ. 1968 เป็นภาษาที่โต้ตอบกับผู้ใช้ทันที เหมาะสำหรับจัดการกับกลุ่มของข้อมูลที่สัมพันธ์กันในรูปแบบตาราง
LISP (LIST Processing) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับข้อมูลที่ไม่ใช้ตัวเลข ซึ่งอาจเป็นสัญลักษณ์พิเศษหรือตัวอักษรก็ได้ นิยมใช้ในด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artifical Inelligence)
LOGO นิยมใช้ในโรงเรียน เพื่อสอนทักษะการแก้ปัญหาให้กับนักเรียน
PL/I (Programming Language One) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ
PROLOG (PROgramming LOGIC) นิยมใช้มากในงานด้านปัญญาประดิษฐ์ จัดเป็นภาษาธรรมชาติภาษาหนึ่ง
RPG (Report Program Generator) ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานทางธุรกิจ จะมีคุณสมบัติในการสร้างโปรแกรมสำหรับพิมพ์รายงานที่ยืดหยุ่นมาก
ภาษาคอมพิวเตอร์กับการใช้งาน
ปัจจุบันนี้มีภาษาคอมพิวเตอร์ให้เลือกใช้มากมายหลายภาษา แต่ละภาษาก็ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานด้านต่าง ๆ กัน ตัวอย่างเช่น บางภาษาก็ออกแบบมาให้ใช้แก้ปัญหาทางธุรกิจ บางภาษาก็ใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน ซึ่งจะกล่าวโดยสรุปถึงการใช้งานของแต่ละภาษาดังนี้
ภาษา BASIC
เป็นภาษาที่ใช้ง่าย และติดตั้งอยู่บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมาก ใช้สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมและผู้ที่เขียนโปรแกรมเป็นงานอดิเรก นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมสั้น ๆ
ภาษา BASIC รุ่นแรกใช้ interpreter เป็นตัวแปลภาษา ทำให้เขียนโปรแกรม ทดสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ทำงานได้ช้า ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมเชี่ยวชาญแล้วไม่นิยมใช้งาน แต่ปัจจุบันนี้มีภาษา BASIC รุ่นใหม่ออกมาซึ่งใช้ conplier เป็นตัวแปลภาษา ทำให้ทำงานได้คล่อ่งตัวขึ้น เช่น Microsoft's Quick BASIC และ Visual Basic เป็นต้น
ภาษา COBOL
เป็นภาษาระดับสูงที่ออกแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 นิยมใช้สำหรับการแก้ปัญหาทางด้านธุรกิจ เช่น การจัดเก็บ เรียกใช้ และประมวลผลทางด้านบัญชี ตลอดจนทำงานด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง การรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
คำสั่งของภาษา COBOL จะคล้ายกับภาษาอังกฤษทำให้สามารถอ่านและเขียนโปรแกรมได้ไม่ยากนัก ในยุคแรก ๆ ภาษา COBOL จะได้รับความนิยมบนเครื่องระดับเมนเฟรม แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวแปลภาษา COBOL ที่ใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ด้วย รวมทั้งมีภาษา COBOL ที่ได้รับการออกแบบตามแนวทางเชิงวัตถุ (Object Oriented) เรียกว่า Visual COBOLซึ่งช่วยให้โปรแกรมสามารถทำได้ง่ายขึ้น และสามารถนำโปรแกรมที่เขียนไว้มาใช้ในการพัฒนางานอื่น ๆ อีก
ภาษา Fortran
เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัท IBM ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ย่อมาจากคำว่า FORmula TRANslator ซึ่งถือว่าเป็นการกำเนิดของภาษาระดับสูงภาษาแรก นิยมใช้สำหรับงานที่มีการคำนวณมาก ๆ เช่น งานทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น
ภาษา Pascal
เป็นภาษาระดับสูงที่เอื้ออำนวยให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมได้อย่างมีโครงสร้าง และเขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาอื่น นิยมใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอน และการเขียนโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
ภาษาปาสคาลมีตัวแปลภาษาทั้งที่เป็น interpreter และ Compiler โดยจะมีโปรแกรมเทอร์โบปาสคาล (Turbo Pascal) ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงทั้งในวงการศึกษาและธุรกิจ เนื่องจากได้รับการปรับปรุงให้ตัวข้อเสียของภาษาปาสคาลรุ่นแรก ๆ ออก
ภาษา C และ C++
ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับ
ภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming Language)
นักเขียนโปรแกรมบางคนคิดว่าการเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่นั้น บางครั้งก็เป็นงานที่หนักและเสียเวลามาก จึงได้พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้การเขียนโปรแกรมนั้นง่ายขึ้น และสามารถเขียนได้อย่าวรวดเร็ว ทำให้เกิดเทคนิค การโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) หรือ OOP เพื่อช่วยลดความยุ่งยากของการเขียนโปรแกรม
Object-Oriented Programming ต่างจากการเขียนโปรแกรมโดยทั่ว ๆ ไป โดยการเขียนโปรแกรมตามปกตินั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะพิจารณาถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาของโปรแกรมเหล่านั้น แต่เทคนิคของ OOPจะมองเป็น วัตถุ (object) เช่น กล่องโต้ตอบ (dialog box) หรือไอคอนบนจอภาพ เป็นต้น โดยออบเจ็คใดออบเจ็คหนึ่งจะทำงานเฉพาะที่แน่นอน ถ้าผู้ใช้ต้องการทำงานชนิดนั้นก็สามารถคัดลอกไปใช้ในโปรแกรมที่ต้องการได้ทันที
โปรแกรมเดลไฟ
หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานแล้ว โดยภาษาเริ่มแรกคือ Simula-67 ได้รับการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1967 และต่อมาก็มีภาษา smalltalk ซึ่งเป็นภาษาเชิงวัตถุเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ หลักการของ OOP ยังได้รับการนไปเสริมเข้ากับภาษาโปรแกรมในยุคที่ 3 คือ C จนเกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ รวมทั้งยังมีการเสริมเข้ากับ การโปรแกรมแบบภาพ (visual programming) ทำให้เกิด Visual Basic ซึ่งมีรากฐานมาจาก BASIC และ Delphi ซึ่งมีรากฐานมาจาก Pascal นอกจากนี้ ในปัจจุบันจะมีภาษาที่ใช้หลักการโปรแกรมเชิงวัตถุตัวใหม่ล่าสุดซึ่งกำลังมาแรงและมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมสูงคู่กันอินเตอร์เน็ต นั่นคือภาษา JAVA
ภาษาที่ออกแบบมาสำหรับ OOP
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ที่มี การติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) เช่น Microsoft Windows และ World Wide Web จะสามารถทำได้ง่าย รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก ด้วยเครื่องมือในการพัฒนาที่ใช้หลักการของ OOP ซึ่งในปัจจุบันจะมีเครื่องมือประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากอยู่ 2 ภาษา คือ Visual Basic และ JAVA
Visual Basic
ภาษา Visual Basic พัฒนาโดย Prof. Kemeny และ Kurtz ที่เมือง Dartmouth ในปีค.ศ. 1960 โดยมีจุดประสงค์สำหรับใช้สอนในห้องคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นในยุคแรก ๆ จะมีหน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะทำงานกับโปรแกรมภาษาอื่น เช่น FORTRAN และ COBOL เพราะขนาดของตัวแปรภาษาซึ่งต้องใช้หน่วยความจำสูงมาก แต่เครื่องเหล่านั้นสามารถใช้ภาษา BASIC ได้ เพราะภาษา BASIC ใช้ตัวแปลภาษาที่มีขนาดเล็ก และตัวแปลภาษานั้นไม่ต้องเก็บอยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดก็สามารถทำงานได้ เป็นเหตุให้ภาษา BASIC ได้รับความนิยมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะได้รับการพัฒนาสูงขึ้นในเรื่องของความเร็วและหน่วยความจำเท่าใดก็ตาม แต่ภาษา Visual Basic จะแตกต่างจากภาษา BASIC โดยสิ้นเชิง ทั้งในแง่ของหน่วยความจำที่ต้องการ และวิธีการพัฒนาโปรแกรม
โปรแกรมวิชวลเบสิค
 ภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบและพัฒนาโดยบริษัท Microsoft มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีการติดต่อับผู้ใช้เป็นแบบกราฟฟิก โดยจะมีเครื่องมื่อต่าง ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาโปรแกรมอย่างรวดเร็ว หรือที่นิยมเรียกว่า RAD (Repid Application Development) ปัจจุบันนี้มีผู้ใช้งานภาษา Visual Basic เป็นจำนวนมาก โดยภาษา Visual Basic ได้รับการออกแบบให้ทำงานบนระบบวินโดว์เวอร์ชั่นต่าง ๆ จากไมโครซอฟต์ เช่น Visual Basic 3 ทำงานบนระบบวินโดว์ 3.11 ส่วน Visual Basic 4 และ 5 ทำงานบนระบบวินโดว์ 95 เป็นต้น
JAVA
ภาษาใหม่ที่มาแรงที่สุดในปัจจุบัน คงจะไม่มีภาษาไหนที่เทียบได้รับภาษาจาวาซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ ในปี 1991 โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคที่ง่ายต่อการใช้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำ ไม่มีข้อผิดพลาด และสามารถใช้กับเครื่องใด ๆ ก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อดีของจาวาที่เหนื่อกว่าภาษาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นด้วยจาวาสามารถนำไปใช้กับเครื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ ทำให้ไม่จำกัดอยู่กับเครื่องหรือโอเอสตัวใดตัวหนึ่ง แม้ว่าการใช้งานจาวาในช่วงแรกจะจำกัดอยู่กับ World Wide Web (WWW) และ Internet แต่ในปัจจุบันได้มีการนำจาวาไปประยุกต์ใช้กับงานด้านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ อย่างมากมาย ตั้งแต่ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ (Utility) ไปจนกระทั่งซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น โปรแกรมชุดจากบริษัท Corel ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมหลัก ๆ คือ โปรแกรมเวิร์โปรเซสซิ่ง สเปรดซีต พรีเซนเตชั่น ที่เขียนขึ้นด้วยจาวาทั้งหมด
จาวายังสามารถนำไปใช้เป็นภาษาสำหรับอุปกรณ์แบบฝังต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ และอุปกรณ์ขนาดมือถือแบบต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งยังได้รับความนิยมนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้แล้ว จาวายังเป็นภาษาที่ถูกใช้งานในคอมพิวเตอร์แบบเอ็นซี (NC) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ล่าสุด ที่เน้นการทำงานเป็นเครือข่ายว่า แอพเพลต (applet) ที่ต้องการใช้งานขณะนั้นมาจากเครื่องแม่ ทำให้การติดต่อสื่อสารสารผ่านเครือข่ายใช้ช่องทางการสื่อสารน้อยกว่าการดึงมาทั้งโปรแกรมเป็นอย่างมาก
โปรแกรมพัฒนาภาษาจาวา


ที่มา   http://cptd.chandra.ac.th/selfstud/it4life/sub%20soft3.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น